ปัจจุบันประเทศไทยมีการเจริญก้าวหน้าไปมากในเรื่องเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ รวมทั้งนโยบาย Digital Economy หรือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตมวลรวมของประเทศให้ทันกับโลกในยุคปัจจุบัน ตั้งอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge Economy) และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ที่วางความหมายในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้าและการบริการผ่านทางนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ การสนับสนุนการใช้อุปกรณ์และ เทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาการศึกษาของไทย แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาและต้องการพัฒนาควบคู่กันไปคือการพัฒนาเนื้อหา (Content) ที่มีคุณภาพสำหรับใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งมาตรฐานและระบบการสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้การใช้งานอีเสิร์นนิงในประเทศไทยเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าต่อการลงทุน
ดังนั้นกลุ่มผู้ประกอบการ นักวิชาการและ ผู้สนใจ ด้านอีเลิร์นนิงในประเทศไทยจึงรวมตัวกันก่อตั้ง สมาคม อีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2551 จนถึงปัจจุบันซึ่งก็มีผลงานการดำเนินงานที่มีประโยชน์ต่อ อุตสาหกรรม e-Learning ของประเทศโดยรวมมากมาย เช่น การสร้างตัวแบบด้าน e-Learning การจัดฝึกอบรม การจัดงานสัมมนาวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ การวิจัย และการให้คำปรึกษา เป็นต้น